Page 18 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 78 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2568
P. 18
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยรัตน์ เปาเล้ง
นวัตกรรมคอนกรีตแห่งอนาคต
คอนกรีตกักเก็บพลังงาน
บทน�า
ปัจจุบันแนวโน้มการพัฒนาคอนกรีตจะมุ่งเน้นไปที่คอนกรีต
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ คอนกรีตสีเขียว (Green Concrete)
ทั้งนักวิจัยรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตในทุกภาคส่วนให้ความ
สนใจในการพัฒนาคอนกรีตด้วยการผสมหรือใช้วัสดุจากเศษวัสดุ
เหลือทิ้ง รวมถึงแนวคิดของการใช้คอนกรีตเป็นแหล่งกักเก็บและ
จ่ายพลังงานเพื่อเป็นทางเลือกให้กับการใช้ระบบพลังงานหมุนเวียน
จากธรรมชาติ โดยอาศัยแหล่งพลังงานทดแทนอย่างแสงอาทิตย์
ลม และ คลื่นต่าง ๆ ในธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีพลังงานจากธรรมชาติ
นั้นมีความไม่สม�่าเสมอในการปล่อยหรือผลิตพลังงาน ท�าให้เกิดแนวคิด
ของการพัฒนาและวิจัยระบบกักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพด้วย
“ปูนซีเมนต์ หรือ คอนกรีต” ที่มีการใช้งานอยู่เป็นจ�านวนมากในปัจจุบัน
งานวิจัยล่าสุดจากนักวิทยาศาสตร์ชั้นน�าของโลก ณ สถาบัน
เทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา น�าโดย
ศาสตราจารย์ Franz-Josef Ulm และทีมวิจัย Nicolas Chanuta,
Damian Stefaniuka, James C. Weaverb, Yunguang Zhuc,
Yang Shao-Hornc, Admir Masica ได้ตีพิมพ์บทความ
“Carbon–cement supercapacitors as a scalable bulk
energy storage solution” ในเดือนมิถุนายน ปี 2023 น�าเสนอ
อีกแนวทางในการกักเก็บพลังงานที่น่าสนใจ ด้วยการผสมผสาน
วัสดุใกล้ตัวอย่างปูนซีเมนต์ น�้า และเขม่าด�า หรือคาร์บอนแบล็ค
(Carbon Black) เพื่อสร้าง “ตัวเก็บประจุยิ่งยวด หรือ ซุปเปอร์คา
ปาซิเตอร์คอนกรีต (Carbon–cement supercapacitors)”
ที่มีศักยภาพในการปฏิวัติวงการพลังงานสะอาด
ทีมนักวิจัยของเอ็มไอที ก�ำลังเร่งพัฒนำประสิทธิภำพของตัวเก็บประจุยิ่งยวดจำกปูนซีเมนต์คำร์บอน เพื่อให้น�ำไปใช้งำนได้แบบอเนกประสงค์
ที่มา : https://www.bbc.com/thai/articles/ckkkr99141go
18 ปีที่ 78 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2568 l วิศวกรรมสาร