Page 100 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2564
P. 100
“จากบางระกำาโมเดล สู่การจัดการนำ้าแล้ง-นำ้าท่วมแบบครบวงจร”
3.3 การบำารุงรักษาระบบบ่อวงเติมนำ้าใต้ดินระดับตื้น
เมื่อระบบบ่อวงเติมน�้าใต้ดินระดับตื้นถูกใช้งานไปได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มักเกิดการ
อุดตันขึ้นภายในวัสดุกรองอันเนื่องมาจากความขุ่นของน�้าหลากท่วม สามารถสังเกตเห็น
ได้จากปริมาณน�้าที่ไหลออกจากวัสดุกรองมีปริมาณน้อยลง การอุดตันของวัสดุกรองจะ
ท�าให้ประสิทธิภาพการเติมน�้าของระบบบ่อวงลดลง การบ�ารุงรักษาระบบบ่อวงใช้เวลา
รวมทั้งสิ้นประมาณ 2.5 ชั่วโมง โดยมีรายละเอียดขั้นตอน (รูปที่ 9) ดังต่อไปนี้
- ขั้นตอนที่ 1
ตัก/ขูดตะกอนวัสดุกรองชั้นบนของบ่อวงซีเมนต์ชั้นนอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
2.2 เมตร ออกแล้วเติมวัสดุกรองใหม่ลงไป ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที
- ขั้นตอนที่ 2
ล้างวัสดุกรอง โดยการสูบน�้าสะอาดเข้าบ่อวงซีเมนต์ชั้นนอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
2.2 เมตร ให้น�้าไหลผ่านเพื่อท�าความสะอาดวัสดุกรอง เมื่อน�้าที่ไหลออกจากท่อเซาะร่อง
มีระดับของความขุ่นที่น้อยลงมาก จึงหยุดสูบล้าง โดยจะใช้น�้าอย่างน้อย 5 ลูกบาศก์เมตร
ต่อ 1 ระบบบ่อวง และใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
- ขั้นตอนที่ 3
ล้างพื้นบ่อวงซีเมนต์ชั้นใน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร โดยการฉีดน�้าสะอาดเข้า
ภายในบ่อวง แล้วใช้ปั๊มน�้าสูบน�้าตะกอนขึ้นมาทิ้ง ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 45 นาที
- ขั้นตอนที่ 4
ตักตะกอนที่ผิวของพื้นบ่อวงซีเมนต์ชั้นใน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ออก โดย
ใช้เครื่องตักหน้าดิน (Grabs Samples) ซึ่งสามารถด�าเนินการได้ในขณะที่ระดับน�้าใต้ดิน
อยู่สูงกว่าพื้นของบ่อวงซีเมนต์ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
ทั้งนี้วงรอบของการบ�ารุงรักษาระบบบ่อวงเติมน�้าใต้ดินระดับตื้นควรด�าเนินการ
อย่างน้อยทุก ๆ 1 ปี โดยสามารถด�าเนินการได้ทันทีหลังผ่านฤดูน�้าหลาก
(ก) ขั้นตอนที่ 1 :
ตักขูดตะกอนออกแล้วเติมวัสดุกรองใหม่
100
วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2564