Page 113 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2564
P. 113

การดูแล และบำารุงรักษาแผงสวิตช์แรงตำ่า ตอนจบ

                                  ฟิวส์กำาลัง (Power Fuses)



                                       ฟิวส์ก�าลังหรือเพาเวอร์ฟิวส์มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง มีหลายชนิด และมีคุณสมบัติต่าง ๆ กัน ความถี่
                                  ในการบ�ารุงรักษาขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่ติดตั้งฟิวส์ ที่ส�าคัญคือก่อนการติดตั้งหรือถอดฟิวส์จะต้องปลดวงจร
                                  ไฟฟ้าก่อนทุกครั้ง ดังนั้นที่จุดติดตั้งฟิวส์จะต้องไม่มีไฟจ่ายมา ข้อแนะน�าส�าหรับการตรวจสอบและบ�ารุงรักษา
                                  เป็นดังนี้
                                       ตรวจสอบชุดฟิวส์ (fuse unit) และไส้ฟิวส์ (renewable element) ถ้าเป็นชนิดที่เปลี่ยนไส้ได้
                                   Ÿ
                                  ตรวจหาสภาพการกัดกร่อนหรือไม่ ความสกปรก และ tracking ถ้าพบและไม่สามารถท�าความสะอาดได้
                                  ให้เปลี่ยนใหม่

                                       ตรวจหาความสกปรก ฝุ่น คราบเกลือ และอื่น ๆ ที่ฉนวนของฐานฟิวส์ เพื่อป้องกันการเกิด flashover
                                   Ÿ
                                  ในขณะเดียวกันให้ตรวจหาการแตกร้าวหรือรอยไหม้ที่เกิดที่ฉนวนด้วย
                                       ตรวจซีลของกระบอกฟิวส์ส�าหรับฟิวส์ชนิดที่เป็น expulsion-type เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีความชื้นรั่วไหล
                                   Ÿ
                                  เข้าไปภายใน
                                       ตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบการติดตั้งทั้งหมด เช่น นัต โบลต์ ว่าหลุด หลวม หรือไม่
                                   Ÿ
                                       ท�าความสะอาดหน้าสัมผัสทั้งที่ขั้วฟิวส์และขาหนีบฟิวส์ เพื่อขจัดออกไซด์และคราบสนิมออกให้หมด
                                   Ÿ
                                       ตรวจสอบจุดต่อทั้งหมดและขันให้แน่นอีกครั้ง ตรวจแรงกดขาหนีบฟิวส์ต้องแน่น
                                   Ÿ
                                       ตรวจหาการเสื่อมสภาพ การเปลี่ยนสี ความสกปรก หลวม การแตกหัก ช�ารุด โดยทั่วไป ถ้าพบต้อง
                                   Ÿ
                                  ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
                                       ตรวจวัดความร้อนที่ขั้วฟิวส์ (ตรวจวัดขณะที่จ่ายโหลด)
                                   Ÿ



                                  ฉนวน (Insulator)



                                    สวิตช์เกียร์ทั้งหมดมีฉนวนเป็นส่วนประกอบ ฉนวนเป็นตัวคั่นแยกระหว่างส่วนที่มีไฟฟ้ากับส่วนที่ไม่มีไฟฟ้า
                                  และส่วนที่มีไฟฟ้าด้วยกัน ฉนวนไฟฟ้าจึงมีความส�าคัญมาก มีข้อแนะน�าส�าหรับการรักษาสภาพฉนวน ดังนี้

                                       ตรวจความเสียหายทางกายภาพของชิ้นส่วนเช่น การแตกร้าว หรือหัก และถ้าตรวจพบให้เปลี่ยนใหม่
                                   Ÿ
                                       ตรวจความสกปรกที่ผิวฉนวนเช่น ฝุ่นละออง และท�าความสะอาดให้เรียบร้อย
                                   Ÿ
                                       ตรวจอุปกรณ์จับยึดทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าฉนวนยังคงจับยึดแน่นพอ
                                   Ÿ



                                  การวัดและการทดสอบ



                                  ปกติในแผงสวิตช์และอุปกรณ์อาจจ�าเป็นต้องมีการวัดและการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความมั่นใจใน
                                  การน�าไปใช้งานต่อ การจะที่จะท�าการตรวจวัดและทดสอบจึงขึ้นกับความส�าคัญของอุปกรณ์ที่แผงสวิตช์
                                  จ่ายไฟให้ หากเป็นวงจรที่มีความส�าคัญมาก การที่ไฟฟ้าดับไม่สามารถจ่ายไฟได้จะเป็นผลเสียอย่างร้ายแรง
                                  ก็ควรท�าการทดสอบ ส�าหรับแผงสวิตช์ขนาดเล็กอาจเว้นไม่ท�าก็ได้ การวัดและการทดสอบประกอบด้วย

                                       การตรวจวัดความร้อน
                                   Ÿ
                                       การวัดค่าความต้านทานฉนวน
                                   Ÿ
                                       การวัดความต้านทานหน้าสัมผัส
                                   Ÿ



                                                                                                             113
                                                                             วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2564
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118