Page 94 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2564
P. 94
“จากบางระกำาโมเดล สู่การจัดการนำ้าแล้ง-นำ้าท่วมแบบครบวงจร”
รูปแบบของระบบบ่อวงเติมน�้าใต้ดินระดับตื้น ประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์ส�าคัญ (รูปที่ 5) ได้แก่
1) บ่อวงซีเมนต์ชั้นนอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.2 เมตร จ�านวน 3 วง ความลึกรวม 1.5 เมตร ใช้ใส่วัสดุกรอง
2) วัสดุกรอง ได้แก่ กรวดคละขนาด 5-20 มิลลิเมตร ความหนา 0.5 เมตร ตาข่ายไนล่อน ถ่านไม้ ความหนา 0.2 เมตร
แผ่นใยสังเคราะห์ กรวดคละขนาด 1-5 มิลลิเมตร ความหนา 0.3 เมตร ตาข่ายไนล่อน และกรวดคละขนาด 0.3-0.8 มิลลิเมตร ความหนา
0.5 เมตร ตามล�าดับจากข้างล่างขึ้นข้างบน
3) ท่อเซาะร่อง PVC ขนาด 6 นิ้ว จ�านวน 4 ท่อน ใช้ระบายน�้าออกจากวัสดุกรอง
4) บ่อวงซีเมนต์ชั้นใน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ความลึกลงไปในชั้นทรายประมาณ 1 เมตร ใช้กักเก็บน�้าที่ผ่านวัสดุกรอง
ระหว่างการเติมน�้า
ติดตั้งวัสดุกรองภายในบ่อวงชั้นนอก
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.2 เมตร
ได้ด�าเนินการตามแนวทางการกรอง
ตะกอนขุ่นของกรมทรัพยากรน�้า
บาดาล (2551) การจัดวางวัสดุกรอง
เรียงจากความละเอียดมากลงไปความ
ละเอียดน้อย เพื่อจะได้กรองตะกอน
หรือสารแขวนลอยที่มีขนาดเล็กออก
เสียก่อนตั้งแต่ชั้นบน ส่วนวัสดุกรองที่
มีขนาดหยาบบริเวณชั้นล่างสามารถ
ถูกเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มชีวภาพ
(Biofilm) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถบ�าบัด
สารประกอบไนโตรเจนและฟอสฟอรัส
(Nitrogen and Phosphorus
Compounds) ในน�้า (Pastorelli et
al., 1999; Hawkins, 2000) ในขณะที่
ถ่านไม้มีความสามารถดูดซับสารเคมี
จ�าพวกยาปราบศัตรูพืช (Pesticides)
และสารอินทรีย์คาร์บอนรวม (Total
Organic Carbon) (WHO, 2011) ส่วน
แผ่นใยสังเคราะห์และตาข่ายไนล่อน
มีไว้เพื่อกั้นกลางระหว่างวัสดุกรอง
โดยแผ่นใยสังเคราะห์จะถูกวางไว้บน
ถ่านไม้เพื่อกั้นขวางไม่ให้น�้าไหลลงเร็ว
เกินไปจนลดทอนประสิทธิภาพการ
กรองของถ่านไม้ รูปที่ 4 พิกัดและแผนผังของระบบบ่อวงเติมน�้าใต้ดินระดับตื้น (กรมทรัพยากรน�้าบาดาล, 2564)
94
วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2564