Page 69 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 75 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2565
P. 69

การออกแบบระบบค�้ายันทางข้างให้กับคานเหล็ก


            ระยะค�้ายันของเสาในแต่ละแกน โดยแกนของเสาที่ชะลูดมาก (L/r) ก็จะเกิดการโก่งเดาะได้
            ง่ายกว่าแกนที่ชะลูดน้อย
              ในส่วนของคาน แม้ว่าเป็นองค์อาคารรับแรงดัด (flexural member) แต่เมื่อคานเกิด
            การดัดตัว ก็จะมีส่วนที่เกิดแรงอัด (compression zone) และส่วนที่เกิดแรงดึง (tension
            zone) ส่วนที่รับแรงอัดก็จะมีลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ไม่ได้แตกต่างจากเสาซึ่งเป็นองค์อาคาร

            รับแรงอัดมากนัก คือจะต้องมีการพิจารณาระยะปราศจากการค�้ายัน (unbraced length,
            Lb) ด้วยเป็นตัวแปรที่สะท้อนความชะลูดรอบแกนอ่อน ซึ่งมักเป็นแกนที่ตั้งฉากกับแกน
            รับแรงดัดของคาน


            การค�้ายันทางข้างให้กับคานจึงเป็นการ “เพิ่มเสถียรภาพ” ป้องกันการโก่งเดาะรอบแกน
            อ่อนของคาน ซึ่งเรียกว่า Lateral Torsional Buckling (LTB) โดยหากคานหลักได้รับการ

            ค�้ายันทางข้างที่มากเพียงพอ คานหลักที่เราพิจารณาก็จะไม่เกิด LTB สามารถรับโมเมนต์
            ดัดได้ถึงระดับสูงสุดที่ท�าให้คานเกิดโมเมนต์พลาสติก (plastic moment, Mp) ซึ่งมีค่า
            เท่ากับ ก�าลังคราก (yield strength, Fy) ของ “วัสดุ” คูณกับ โมดุลัสภาคตัดพลาสติก
            (plastic section modulus, Z) ของ “หน้าตัด” ซึ่งเป็นการใช้ศักยภาพของทั้ง “วัสดุ” และ
            “หน้าตัด” มาเป็นส่วนประกอบในการรับแรงอย่างเต็มที่ โดยไม่เกิดการลดทอนก�าลังรับแรง

            จากการสูญเสียเสถียรภาพ (เกิด LTB)












































            รูปที่ 1 ลักษณะการค�้ายันทางข้างให้กับคานและผลในเชิงพฤติกรรม
            รูปภาพจาก www.facebook.com/WeLoveSteelConstruction


                                                                                      ปีที่ 75 ฉบับที่ 4 กันยายน-ธันวาคม  วิศวกรรมสาร  69
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74