Page 63 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 75 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2565
P. 63
ส่องเส้นทางพาไทยสู่เป้าหมาย Net Zero
เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพลังงานที่ใช้มากกว่าการดักจับ
หรือไม่
นอกจากนี้การขนส่ง และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจ�านวนมากยังสร้างความ
กังวลถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากมีการรั่วออกมาถึงผลกระทบต่อความปลอดภัยของคน
สิ่งมีชีวิต รวมถึงระบบนิเวศในบริเวณที่มีการรั่ว จากกรณีที่เคยมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รั่ว
ที่ Mississippi ที่ท�าให้คนในบริเวณที่มีการรั่วต้องเข้าโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
บางการวิพากษ์แสดงแนวคิดว่าเทคโนโลยีนี้ใช้เพื่อเป็นแต้มต่อของธุรกิจพลังงานและ
ถ่านหิน ในการผลิตพลังงานจากถ่านหิน แล้วใช้เทคโนโลยีนี้มาเพิ่มความชอบธรรมในการ
ยังคงใช้พลังงานถ่านหินต่อไปเท่านั้น
ประเด็นส่งท้าย
การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ครั้งที่ 27 (COP27) ณ ประเทศอียิปต์ ได้เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565
มีประเด็นส�าคัญที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงคือการจ่ายค่าชดเชยความสูญเสียและเสียหายจาก
ภาวะโลกรวน (Loss and Damage) ที่มีการถกในที่ประชุมว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วควร
จะเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยความสูญเสียให้กับกลุ่มประเทศที่ก�าลังพัฒนาและได้รับผลกระทบ
จากภาวะโลกรวน ซึ่งจากการประชุม COP 27 มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น
นั้นอาจจะมีมูลค่าถึง 160 - 340 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปีภายในปี ค.ศ. 2030 และความ
เสียหากจะเพิ่มสูงถึงปีละ 565 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปีภายในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2050
และแม้ว่าในการประชุมนี้ยังไม่เกิดข้อสรุปว่าประเทศใดบ้างที่จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าชดเชย
ความสูญเสียนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการหยุดภาวะโลกรวนอย่างเป็นธรรม แต่สิ่งที่
แน่ชัดคือภาวะโลกรวนนั้นเริ่มส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติอย่างบ่อยครั้งและ
ทวีความรุนแรง จนยากที่จะรับมือได้อีกต่อไป
!
ปีที่ 75 ฉบับที่ 4 กันยายน-ธันวาคม วิศวกรรมสาร 63