Page 36 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 78 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2568
P. 36
ตอนที่ ๑๒ จากเขียนแบบวิศวกรรม และคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ถึง BIM และ AI ตอนที่ ๑
Free - hand Sketch
ที่ซ่อนปริศนา และ
เปลี่ยนโลก
หลาย Free - hand Sketch ซ่อนปริศนา
บอกเล่า แสดงจินตนาการ ความคิดสร้างสรร
และเป็นอมตะคู่โลก Leonardo Da Vinci
(ค.ศ. ๑๔๕๒ - ๑๕๑๙) อาจถูกยกให้เป็น
ทั้งนักประดิษฐ์ จิตรกร ศิลปิน เพราะกว่า
สองร้อย Free - hand Sketch ของเขา
แสดงความคิดสร้างสรรค์ หรือสิ่งประดิษฐ์
หลายอย่างไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของหลัก
วิทยาศาสตร์ แต่ก็มีบางอย่าง ประดิษฐ์ใช้งาน
ได้จริง เช่น เกียร์ระบบผันแปร (Continous
Variable Transmission - CVT) ซึ่งปัจจุบัน
ใช้งานในรถยนต์หลากหลายยี่ห้อ ภาพ
“Vitruvian man” ที่สถาปนิก และวิศวกร
รู้จักดี บอกกายศาสตร์ และสัดส่วนต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกิจกรรมด�ารงชีวิตของมนุษย์
(Basic human dimension and distance
zone) ส�าคัญต่องานสถาปัตยกรรม และ
วิศวกรรม เพราะน่าประหลาด แม้มนุษย์
จะมีหลากหลายเผ่าพันธุ์ กายภาพแตกต่าง
กันมาก แต่มิติ ที่เกี่ยวแก่กิจกรรมในชีวิต
ประจ�าวัน แทบไม่แตกต่างกัน เช่น ขนาด
ประตูหน้าต่าง ขั้นบันได โต๊ะ เก้าอี้ ที่นั่ง
ในห้องโดยสารรถยนต์ อากาศยาน ฯลฯ
Leonardo Fibonacci (ค.ศ. ๑๑๗๐
- ๑๒๕๐) อาจเป็นทั้งนักบวช นักธรรมชาติ
วิทยา และนักคณิตศาสตร์ แม้ไม่มี Free -
hand Sketch แต่ด้วยความที่สนใจ และ
เฝ้าสังเกตปริศนาในธรรมชาติรอบตัว เช่น
กลีบดอกไม้ เถาวัลย์ เปลือกหอยกาบเดียว
ที่ขดเป็นวง หรือเกลียวต่อเนื่อง ท�าให้เขา
ค้นพบ สัดส่วนทองค�า - Golden หรืออนุกรม
Fibonacci [1, 1, 2 (= 1 + 1), 3 (= 2 + 1),
5 (= 3 + 2), 8 (= 5 + 3), 13 (= 8 + 5), …, n
(= 2•n – 3)] มีค�าอธิบายสั้น ๆ ว่า สรรพสิ่ง
ในโลกนี้ หากเป็นไปตามสัดส่วนทองค�า จะสวย
ง. สื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน สง่างาม สะดุดตา ประทับใจ และสมดุลมั่นคง
รูปที่ ๑ ตัวอย่างภาพร่างในงานวิศวกรรม
36 ปีที่ 78 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2568 l วิศวกรรมสาร