Page 9 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 77 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2567
P. 9

วศ.วุฒินันทน์  ปัทมวิสุทธิ์


































              บทความ “การยกวัสดุในงานกู้ภัยด้วยรถเครน:



                          ขั้นตอนและข้อควรระวัง และประสบการณ์



                                         จากเหตุเครนถล่ม ถนนพระราม 2”







              ในปัจจุบันมีอุบัติภัยจากงานก่อสร้างรวมถึงภัยพิบัติจาก
            เพลิงไหม้ อาคารถล่ม หรือภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว โคลนถล่ม

            ดินทรุด อุโมงค์ถล่ม น�้าหลาก น�้าท่วม เป็นต้น เป็นข่าวให้เห็น
            อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจากเหตุเครน Launching Gantry ถล่มในงาน
            ก่อสร้างทางยกระดับ ถนนพระราม 2 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567
            ที่ผ่านมา เมื่อทีมกู้ภัยเข้าไปในพื้นที่ พบว่ามีชิ้นส่วนวัสดุที่พังถล่ม
            ติดค้างอยู่ในที่เกิดเหตุ รวมทั้งยังมีผู้เสียชีวิตติดค้างในที่เกิดเหตุ
            รวมทั้งมีโครงสร้างเครนสีน�้าเงินและชิ้นงานกล่องคอนกรีต

            ขนาดใหญ่ (Segment) ปิดช่องทางการเข้าช่วยเหลือ และกีดขวาง
            ช่องทางจราจร โดยในการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่มีน�้าหนัก
            มาก ๆ ซึ่งอาจสูงถึงหลายสิบตันหรือหลายร้อยตัน นอกจากต้อง
            ใช้คน เครื่องจักรกลหนัก เช่น รถขุด รถตัก หรือแม่แรงยก ยังมักมี
            การใช้รถเครนขนาดใหญ่ในการช่วยยกชิ้นวัสดุที่ถล่มหรือกีดขวาง

            การเข้าช่วยเหลือ เพื่อให้ภารกิจกู้ภัยเป็นไปได้โดยสะดวก นับว่า
            เป็นงานยกวัสดุด้วยรถเครนที่มีความซับซ้อนสูง และต้องใช้การ
            วางแผน ทักษะ และประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายในการ
            ร่วมด�าเนินการในงานยกดังกล่าว                       ภาพที่ 1: โครงสร้างที่เสียหายและชิ้นส่วนวัสดุ @ เหตุเครนถล่ม พระราม 2



              วิศวกรรมสาร                                                             ปีที่ 77 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2567  9
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14