Page 54 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 75 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2565
P. 54

ระเบียบการรับต้นฉบับบทความเทคโนโลยี
                ทคโนโลยีน่ารู้


                                                                                            รศ.ดร.นิศาชล ตั้งเสงี่ยมวิสัย









          เทคโนโลยี        และการทดสอบ


                             ภายในประเทศ










                                                            เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี 5G กับการทดลองทดสอบ หรือการ
                                                     พัฒนาและวิจัยในประเทศไทยนั้น จากการที่ดิฉันได้มีส่วนร่วมท�าหน้าที่
                                              เป็นผู้ประสานงานโครงการจัดตั้งและบริหารงานศูนย์ทดสอบ 5G ระหว่างเดือน
          สิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จึงขออนุญาตน�ารายละเอียดโดยย่อของเทคโนโลยี 5G และการทดสอบ

          โครงข่าย 5G กับการใช้งานต่าง ๆ โดยคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอื่น ๆ
          นักวิจัยจากสถาบันการศึกษาอื่น รวมทั้งผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรม สรุปมาให้อ่านเพื่อเป็นการแนะน�าเทคโนโลยี
          น่ารู้ให้แก่ผู้อ่านกันค่ะ




              จุดเด่นของเทคโนโลยี 5G



            เมื่อพูดถึงเทคโนโลยี 5G เราหมายถึง Generation หรือการ
          พัฒนารุ่นที่ 5 ของเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นการ
          ส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เสียงพูดหรือเสียงเพลง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
          หรือวิดิโอ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่
            ส�าหรับความเร็วในการส่งข้อมูลเหล่านี้ ก็ได้ถูกพัฒนาไปตาม
          Generation ต่างๆ จากระดับของ kilobits/s ก็คือเป็นหลักของ

          1000 บิตต่อวินาที ใน Generation แรกๆ มาเป็น Megabits/s
          ใน Generation ที่ 4 และสุดท้าย ด้วยเทคโนโลยี 5G ท�าให้เรา
          สามารถส่งข้อมูลภาพ หรือวิดิโอเหล่านี้ได้รวดเร็วมากขึ้นไปอีก
          จนถึงระดับของ Gigabits/s กล่าวคือ ส่งข้อมูลได้ถึง 100 ล้านบิต
          ต่อวินาทีกันเลยทีเดียว เมื่อความเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น ก็จะ

          ท�าให้เราสามารถดาวน์โหลดไฟล์ใหญ่ ๆ เช่น ไฟล์วิดิโอ หรือ
          ดาวน์โหลดโปรแกรมขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ใช้เวลา
          ในการดาวน์โหลดที่สั้นลง นอกจากนี้ การสั่งงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
          ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Internet-of-Thing (IoT) ด้วย
          เทคโนโลยี 5G ก็จะมีการตอบสนองได้ไวกว่าเทคโนโลยี 4G ถึง 10 เท่า


          54 วิศวกรรมสาร  ปีที่ 75 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2565
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59