Page 64 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2564
P. 64
สรุปความ ปาฐกถาพิเศษ อนาคตโครงข่ายคมนาคมของประเทศไทย
(5) ทางหลวงแนวใหม่ สายอุดรธานี-บึงกาฬ เชื่อมต่อโครงข่ายสะพานมิตรภาพ
แห่งที่ 5 ระยะทาง 155 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 17,000 ล้านบาท โดยก�าหนดการก่อสร้าง
คือปี พ.ศ. 2568-2570
(6) ทางหลวงหมายเลข 348 และ 3486 ช่วงเขาช่องตะโก จ.สระแก้ว ระยะทาง
49 กิโลเมตร โดยมีแผนในการเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2568
นอกจากการพัฒนาโครงข่ายทางถนนเชื่อมภูมิภาคแล้ว ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม
มีโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail) เชื่อมต่อระหว่างประเทศ
เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (253 กิโลเมตร) และนครราชสีมา-หนองคาย (355
กิโลเมตร) เพื่อเชื่อมต่อ สปป.ลาว ที่เวียงจันทน์ และสามารถเชื่อมต่อผ่านโครงข่าย
ทางรางไปยังเมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ยังมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง
เชื่อมต่อ 3 สนามบิน ตั้งแต่สนามบินอู่ตะเภามายังสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบิน
ดอนเมือง เพื่ออ�านวยความสะดวกในการเดินทาง โดยเป็นการลงทุนจากภาคเอกชน
และในส่วนรถไฟความเร็วสูงสายใต้ในเส้นทางหัวหิน-สุราษฎร์ธานี (424 กิโลเมตร)
และ สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ในอนาคต เพื่อใช้เป็นเส้นทางหลักเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม แผนทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้กรอบแผนแม่บท (Master Plan) ที่อยู่ในระหว่าง
การศึกษาความเป็นได้ของการพัฒนา ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีจ�านวน 2 เส้นทาง คือ เส้น
นครราชสีมา-หนองคาย และอีกเส้นหนึ่งคือ การเชื่อมต่อระหว่างสนามบินที่ได้รับการอนุมัติ
และเริ่มด�าเนินการก่อสร้างแล้ว
3.4 การคมนาคมขนส่งเชื่อม Global
ในส่วนของการเชื่อมต่อทางน�้า 2 โครงการ ประกอบด้วย
(1) การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ภายใต้โครงการโครงการพัฒนาระเบียง
เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (The Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อเพิ่มขีด
ความสามารถในการขนส่งตู้สินค้า การขนส่งรถยนต์ และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งตู้สินค้าโดย
รถไฟผ่านท่าเรือ ภายใต้วงเงิน 1.14 แสนล้านบาท ด�าเนินการปี พ.ศ. 2561-2584 เพื่อเปิด
ให้บริการในส่วนแรกปี พ.ศ. 2568 ขณะนี้อยู่ในระหว่างรอลงนามในสัญญา
64
วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2564