Page 73 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2564
P. 73

บทเรียนการบริหารจัดการน�้าของเมืองหลักบนลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยาในประวัติศาสตร์ไทย


              บริบทที่ 1: สุโขทัย - อาณาจักร

            สุโขทัยถูกสถาปนาขึ้นในช่วงเดียวกับการ
            ถดถอยของอาณาจักรขอม โดยขุนผาเมือง
            และขุนบางกลางท่าว สองผู้น�าที่ร่วมมือกัน
            ขับไล่พวกขอมออกจากดินแดนสุโขทัยใน
            ปลายพุทธศตวรรษที่18 ขณะที่ยังคงรักษา
            ภูมิปัญญาการตั้งถิ่นฐานของเมืองไว้ ถ้ามอง

            จากมุมสูง (Top view) จะสังเกตเห็นว่า
            เมืองสุโขทัยตั้งอยู่ห่างจากที่ราบลุ่มแม่น�้ายม
            ค่อนไปทางเนินเขา อันเป็นที่ตั้งของท�านบ
            กั้นน�้า และสรีดภงส์ซึ่งถูกใช้ส�าหรับล�าเลียงน�้า
            ลงมาหล่อเลี้ยงคูเมืองทั้งสามที่ล้อมรอบ

            เมืองสุโขทัย และระบบชลประทานส�าหรับ
            เกษตรกรรมของเมืองทั้งหมด ซากที่ยังคง
            เหลือของระบบชลประทานดังกล่าวเป็น
            หลักฐานสะท้อนถึงเทคนิคในการจัดการน�้า
            อย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพที่รับต่อ
            มาจากขอม และปรับใช้ในพื้นที่หลังจาก
            เมืองสุโขทัยถูกสร้างขึ้น เหตุผลในการเลือก

            ที่จะตั้งเมืองสุโขทัยห่างไกลจากที่ราบลุ่ม
            แม่น�้ายม นอกจากจะใช้ที่ราบลุ่มแม่น�้ายม
            เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชาวเมือง
            สุโขทัยแล้ว ประการส�าคัญคือหลีกเลี่ยง
            น�้าท่วมหลากที่เกิดประจ�าทุกปี ดังนั้นการ

            ที่อ�าเภอเมืองสุโขทัยในปัจจุบันย้ายมา
            ตั้งอยู่ริมแม่น�้ายมบริเวณโค้งคดเคี้ยวของ
            ล�าน�้า [*2] จึงถูกน�้าท่วมในฤดูน�้าหลาก
            ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลดังกล่าวปรากฏชัด
            ในการศึกษาข้อมูลดาวเทียม UNOSAT
            และ COSMO Skymed-4 บนระบบภูมิ

            สารสนเทศ [*3] แสดงพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
            ที่น�้าท่วมหลากริมฝั่งแม่น�้าในปี พ.ศ. 2564
            รวมถึงอ่างเก็บน�้ารูปหัวใจด้านทิศตะวันออก
            เฉียงเหนือของอ�าเภอเมืองสุโขทัยปัจจุบัน
            (รูปที่ 5) ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่าโดยธรรมชาติ

            ล�าน�้าคือเส้นทางการไหลที่รวบรวมน�้า
            ในพื้นที่รับน�้านั้น (watershed area) [*2]
            จากต้นน�้าลงสู่ปลายน�้า
                     รูปที่ 5 การศึกษาข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศบนข้อมูลดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 และ UNOSAT แสดงพื้นที่น�้าท่วมหลากริมฝั่งแม่น�้ายม
                                 จังหวัดสุโขทัย และริมฝั่งแม่น�้าน่านตอนใต้ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ (28 กันยายน และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564)


                                                                                                              73
                                                                             วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2564
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78