Page 39 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 75 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2565
P. 39
อธิบายกลไกการเกิดเหตุการณ์คานคอนกรีตอัดแรงหน้าตัด
รูปตัวไอบนสะพานกลับรถ ถนนพระรามที่ 2 หลักกิโลเมตรที่ 34 พลิกหล่นใส่รถที่สัญจรด้านล่าง
รูปที่ 8 ภาพถ่ายโครงสร้างจริงซึ่งได้ระบุชื่อของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ส�าคัญไว้
การวิเคราะห์สาเหตุของการพลิกล้มและหล่นลงสู่พื้น
เหตุการณ์การพลิกตกของคานคอนกรีตหน้าตัดรูปตัวไอพร้อมกับพื้นยื่น และแผ่นผนัง
คอนกรีตกันตกที่ติดกันอยู่เป็นชิ้นเดียว เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการซ่อมแซมพื้นสะพาน
ในบริเวณช่วงโค้งตามแบบแปลนที่แสดงในรูปที่ 9 ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีการตรวจพบความ
เสียหาย/เสื่อมสภาพของแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC Slab) กรมทางหลวงจึงได้ด�าเนิน
การซ่อมแซมบูรณะ โดยการสกัดรื้อพื้นสะพานเก่าที่เนื้อคอนกรีตเสียหายออกทั้งหมด
โดยจะเก็บคานคอนกรีตอัดแรงหน้าตัดรูปตัวไอซึ่งมิได้มีความเสียหายใด ๆ ไว้ใช้งานต่อ
โดยข้อจ�ากัดหนึ่งของการด�าเนินการรื้อถอนพื้นคือจะไม่สามารถสกัดรื้อพื้นยื่นบริเวณ
ขอบนอกของสะพานทั้งสองฝั่งได้ เนื่องจากมีแผ่นผนังคอนกรีตกันตกติดตั้งด้วยการ
ล้วงเหล็กและหล่อคอนกรีตยึดติดไว้กับปลายพื้นยื่น ส�าหรับภาพตัดของระบบพื้นสะพาน
ระหว่างที่ท�าการรื้อถอนแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กได้แสดงไว้ในรูปที่ 10
ปีที่ 75 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2565 วิศวกรรมสาร 39