Page 49 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 75 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2565
P. 49
รถโบกี้ไฟฟ้าก�าลังปรับอากาศ (Power Car) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
กับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระบบการขนส่งทางรางและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รูปที่ 7. ตัวอย่างรูปแบบแรงกระท�าที่ใช้ในการออกแบบรถไฟฟ้าก�าลังตามมาตรฐาน EN-12663
รูปที่ 8. โครงสร้างของรถไฟฟ้าก�าลังขณะท�าการก่อสร้าง
ในส่วนของพฤติกรรมทางพลศาสตร์ที่จะส่งผลต่อสมรรถนะของรถไฟในด้านความ
ปลอดภัย/พฤติกรรมในการวิ่ง และความสะดวกสบายของการโดยสารนั้น ได้มีการวิเคราะห์
ด้วยแบบจ�าลองมัลติบอดี้ (รูปที่ 9) โดยน�าข้อมูลจากการรถไฟฯ ทั้งคุณสมบัติของระบบช่วง
ล่าง ข้อมูลสภาพของแนวเส้นทางรถไฟมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ ซึ่งผู้ด�าเนินการได้ท�าการ
วิเคราะห์อย่างละเอียดทั้งในขณะที่รถไฟแล่นด้วยความเร็วระดับต่าง ๆ รวมไปถึงในขณะที่
มีการสึกหรอของช่วงล่างและหน้าสัมผัสของผิวล้อและราง เพื่อตรวจสอบพฤติกรรม และ
สมรรถนะของรถไฟฟ้าก�าลังให้เป็นไปตามมาตรฐาน UIC-518 [1] และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
โดยขั้นตอนทั้งหมดได้มีการท�างานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างวิศวกรผู้ท�าการออกแบบ
ผู้ด�าเนินการก่อสร้างและเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ
ปีที่ 75 ฉบับที่ 4 กันยายน-ธันวาคม วิศวกรรมสาร 49